Akaru Centella Gel


LYCOPERSICON ESCULENTUM EXTRACT


Bee Venom


PANTHENOL (Vit B5)


Alpha Arbutin


Collagen


GARCINIA MANGOSTANA BARK


dl-α-Tocopherol Acetate (วิตามินอี)


Allantoin


 Sodium Hyaluronate

LYCOPERSICON ESCULENTUM EXTRACT

LYCOPERSICON ESCULENTUM EXTRACT

มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill, Solanaceae) เป็นผักที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มะเขือเทศมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารสำคัญที่ดีกับสุขภาพมากมาย ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ ฟลาโวนอยด์ ไลโคปีนเป็นสารประกอบฟีนอลิก มะเขือเทศที่มีผลสีแดงจะมีปริมาณไลโคปีน เบต้าแคโรทีนและสารประกอบฟินอลิกมากกว่า มะเขือเทศที่มีสีเหลือง โดยสารประกอบฟินอลิกเป็นสารที่อกกฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส นอกจากนี้ผลของมะเขือเทศที่มีสีผิวต่างกันก็จะมีปริมาณสารสำคัญในปริมาณที่แตกต่างกัน

มะเขือเทศคือราชินีแห่งพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมใช้รับประทานสดและแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่มหรือผลิตเป็นอาหารต่างๆ สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร สารสกัดจากมะเขือเทศสามารถนำไปผลิตอาหารเสริม เครื่องสำอางได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลวิจัยสารออกฤทธิ์ในมะเขือเทศ

ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากเขือเทศที่สกัดโดยการหมักด้วยตัวละลาย 4 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน เอทิลแอซีเทต เมทานอลและโพรพิลีนไกลคอล พบว่าสารสกัดทั้ง 4ชนิด มีฤทธิ์ต้านเอนไซน์ไทโรซิเนสอยู่ในระดำต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกรดโคจิก ขณะที่รายงานผลการศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทไรซิเนสของสารสกัดผลมะเขือเทศที่สกัดด้วยวิธีแบบไหลย้อนกลับ และใช้เมทานอลเป็นตัวทำละลายมีฤทธิไกล้เคียงกับกรดโคจิก นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากน้ำมะเขือเทศ และสารสกัดจากการนำน้ำมะเขือเทศไปสกัดด้วยตัวทำลายเอทิลแอซีเทตมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินซึ่งทดสอบในเซลล์เมลาโนมา โดยสารสำคัญในมะเขือเทศที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ ไทโรวซิเนส คือ สารประกบอกลุ่มโดลีฟินอล

สารไลโคปีนในมะเขือเทศ

สารไรโคปีน (Lycopene) เป็นสารที่พบมากในผักผลไม้ที่เป็นสีแดง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีฤทธิ์ที่ดีกวว่าแบต้าแคโรทีน และแอลฟาโทโคฟีรอล มากถึง 2-10 เท่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด และสารไรโคปีนสามารถละลายในน้ำมันได้ดีจึงช่วยดูดซึมได้ดีในรูปแบบน้ำมัน

สารไรโคปีน เป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสร้างเองขึ้นได้ ซึ่งเราต้องเลือกรับประทานในผักผลไม้เป็นอาหารเสริมเข้าไปเท่านั้น และเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายก็จะดูดซึมสารไลโคปีนไปใช้ในส่วนต่างๆ ทันทีและจะทำการขับออกจากร่างกายตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องรับประทานให้ได้ไลโคปีนในปริมาณที่เพียงพอแก่ร่างกายประมาณไม่เกิน 70 มิลลีกรัมต่อวัน ซึ่งหากรับประทานเข้าไปมากเกินอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ หรือตัวเหลือง เป็นโทษแก่ร่างกายได้

คุณสมบัติของไลโคพีนในมะเขือเทศ

– ต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ไลโคพีนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า Beta-Carotene 2 เท่า และสูงกว่า Vitamin E 10 เท่า
– ปกป้องผิวจากรังสียูวี ไลโคพีนทาหน้าที่คล้าย sunscreen ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี UVA, UVB จากภายใน ทาให้ผิวทนต่อแสงแดดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันริ้วรอยและความหมองคล้ำจากแสงแดด
– บำรุงต่อมลูกหมากและต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก ไลโคพีนช่วยป้องกันการทาลายดีเอ็นเอของเซลล์ภูมิ
ต้านทาน ทาให้ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือมะเร็งได้ดี ยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง ต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดค่า PSA (Prostate Specific Antigen) ที่บ่งบอกความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
– ลดอัตราเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและการเป็นหมัน ไลโคพีนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอสุจิ และทำให้อสุจิแข็งแรง ป้องกันภาวะมีบุตรยากในเพศชาย
– ลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ ไลโคพีนช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชันของไขมัน บริเวณหลอดเลือด ลดการอักเสบ ช่วยลดระดับไขมันตัวร้าย LDL คอเลสเตอรอล
– ผลต่อระบบภูมิต้านทาน ไลโคพีนจะทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด T-Lymphocyte ทางานในการต้านทานต่อสิ่ง
แปลกปลอมได้ดีขึ้น


Got Something To Say!

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

BACK TO TOP